ความอ้วน

                                            
ธรรมชาติบำบัด,ธรรมชาติบำบัดวิถีไทย,อ.สุทธิวัสส์ คำภา,นักธรรมชาติบำบัด
  
          โดยทั่วไปแล้ว จะหมายถึง ไขมันส่วนเกิน  ที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับพลังงานจากอาหารเข้าไปมากกว่าที่ร่างกายต้องการ และเกิดการสะสมไว้ในรูปของไขมันซึ่งอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย  แนวทางแก้ไขตามแนวธรรมชาติบำบัดวิถีไทยคือ รับประทานมันเทศ และ/หรือใบขลู่  นอกเหนือจากไขมันที่เป็นสาเหตุของความอ้วนแล้วนั้น ยังมีสาเหตุอื่นที่เป็นปัจจัยส่งผลทำให้รูปร่างของเราอ้วนขึ้นผิดปกติ ซึ่งทางธรรมชาติบำบัดวิถีไทยสามารถแยกแยะวิเคราะห์หาสาเหตุความอ้วนได้เพิ่มเติมอีก 3  สาเหตุ  ดังรายละเอียดต่อไปนี้
      1.  ม้าม  ทำงานผิดปกติ  อันเนื่องมาจาก
                    1.1    ม้ามชื้น  แนวทางแก้ไข  รับประทานมันเทศ  ขมิ้นชัน 
                    1.2    กระดูกหลังข้อที่ 4 กดทับ  แนวทางแก้ไข   จัดกระดูก
    
              2บวมลม  เกิดจากลำไส้ใหญ่พิการ  ส่งผลให้มีอุจจาระตกค้าง  โดยลำไส้พิการสามารถแยกสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดลำไส้พิการได้  5  สาเหตุ  ดังนี้
             2.1  ลำไส้ใหญ่ตีบ  แนวทางแก้ไข  รับประทานขมิ้นชันควบคู่อบเชย  ร่วมด้วย  การรับประทาน  1. เม็ดแมงลัก 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำให้พองตัวก่อนรับประทาน   2. กล้วย 2 ลูกพร้อมกับนม 2 กล่อง  3. นมข้นหวานผสมโซดา
             2.2  ลำไส้ใหญ่มีติ่งหรือติ่งเนื้อที่ลำไส้ใหญ่  เกิดจาก
       2.2.1  กระดูกหลังข้อที่ 9 กดทับ   แนวทางแก้ไข  จัดกระดูก
       2.2.2  หินปูนเกาะที่ลำไส้ใหญ่    แนวทางแก้ไข  รับประทานน้ำมะพร้าวอ่อนแกว่งสารส้ม  ร่วมกับ ขมิ้นชันควบคู่อบเชย
           2.3  ลำไส้ใหญ่หดเกร็ง  เกิดจาก  ภาวะความเครียดของตัวเราเอง  จะมีอาการปวดจี๊ด
           2.4  ลำไส้ใหญ่โป่งพอง   แนวทางแก้ไข  รับประทานขมิ้นชันควบคู่อบเชย 
           2.5  ลำไส้ใหญ่ย้วย  สังเกตจากพุงของตัวเรา  ว่าลักษณะของพุงจะมีการป่องช่วงล่างของพุง                        
แนวทางแก้ไข  รับประทานขมิ้นชันควบคู่อบเชย  ร่วมด้วย  การรับประทาน  1. เม็ดแมงลัก 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำให้พองตัวก่อนรับประทาน   2. กล้วย 2 ลูกพร้อมกับนม 2 กล่อง  3. นมข้นหวานผสมโซดา
       3. บวมน้ำ  เกิดจากสาเหตุ  6 สาเหตุ  ดังนี้
3.1 รับประทานโปรตีนไม่ควบ 18 ชนิด  กล่าวคือ  ในแต่ละวันร่างกายคนเราต้องการโปรตีนถึง 18 ชนิดในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและใช้เป็นสารอาหารสำหรับร่างกาย  แต่ทั้งนี้น้ำนมถั่วเหลือง (น้ำเต้าหู้) ที่ถือว่ามีโปรตีนสูงแต่กลับพบว่า มีโปรตีนไม่ควบ 18 ชนิดที่เพียงพอต่อร่างกายต้องการ  ( น้ำนมถั่วเหลือง  มีโปรตีน 15-16 ชนิด)  ดังนั้นทางธรรมชาติบำบัดวิถีไทย  ได้พบว่าเมล็ดหมามุ่ยและใบมัน  มีโปรตีนมากถึง 18 ชนิดเพียงพอต่อร่างกาย  ฉะนั้นเราสามารถให้โปรตีนกับร่างกายได้โดยง่าย  แค่รับประทานถั่วครก  และ/หรือ  ใบมัน  เป็นประจำ

3.2  หัวใจขาดโปแตสเซียม  อันเนื่องจากในชีวิตประจำวันไม่ได้รับประทานผลไม้เป็นประจำ  
แนวทางแก้ไข   รับประทานผลไม้สด   ดื่มน้ำกระเจี๊ยบพุทราจีน
3.3  หลอดน้ำเหลืองตีบที่ไต   ตัวบ่งขี้จากสาเหตุนี้ คือ  หัวเหม็นสาบ  ผิวไม่สวยเป็นจ้ำๆ  มีกลิ่นตัวง่าย  มีผื่นคัน
แนวทางแก้ไข     รับประทานใบคนที
3.4  หลอดเลือดตีบที่ไต
 แนวทางแก้ไข    ดื่มน้ำกระเจี๊ยบพุทราจีน   ดื่มน้ำอ้อยดำใบเตย
3.5  สะเก็ดเลือดที่เส้นเลือดฝอยที่ไต
แนวทางแก้ไข    รับประทานโยเกิร์ตผสมน้ำมัน
( น้ำมัน  หมายถึง  น้ำมันมะพร้าว  น้ำมันงา  น้ำมันข่า  น้ำมันขิง  เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งในการผสมเพื่อรับประทาน )
3.6  หินปูนเกาะที่เนื้อเยื่อไต

แนวทางการแก้ไข    ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนแกว่งสารส้ม  ดื่มน้ำต้มลูกเดือยผสมถั่วขาว